0

ตระกร้าสินค้า

Item removed. Undo

โครงสร้างองค์กร

โครงสร้างองค์กร

บริษัท ยูเนี่ยนไพโอเนียร์ จำกัด (มหาชน) มีคณะกรรมการ 3 คณะ  ได้แก่

1.  คณะกรรมการบริษัท

2.  คณะกรรมการตรวจสอบ

3.  คณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน

 
โครงสร้างการจัดการ ของบริษัท ยูเนี่ยนไพโอเนียร์ จำกัด (มหาชน)




ประกอบด้วย :  ผู้ถือหุ้น คณะกรรมการบริษัท และฝ่ายจัดการ

ในระบบกำกับดูแลกิจการ ผู้ถือหุ้นจะเป็นผู้แต่งตั้งคณะกรรมการบริษัทฯ เพื่อเป็นตัวแทนในการบริหารกิจการคณะกรรมการบริษัทฯจะทำหน้าที่กำหนดวิสัยทัศน์ ทิศทาง นโยบาย กลยุทธ์ และมอบหมายให้ฝ่ายจัดการนำไปดำเนินการให้สำเร็จตามเป้าหมาย พร้อมติดตามดูแลให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อให้ผู้ถือหุ้นได้รับผลตอบแทนที่คุ้มค่ากับเงินลงทุน

        

 กรรมการที่เป็นผู้บริหารและกรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหาร  มีจำนวนที่เหมาะสม มีทักษะ ประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์กับบริษัท และมีคุณสมบัติของกรรมการครบถ้วนตามกฎหมายและข้อบังคับบริษัท  ในจำนวนนี้เป็นกรรมการอิสระอย่างน้อย 1 ใน 3 ของจำนวนกรรมการทั้งหมด แต่ต้องไม่น้อยกว่า 3 คน และมีกรรมการตรวจสอบอย่างน้อย 3 คน โดยกรรมการอิสระจะต้องมีความเป็นอิสระจากการควบคุมของผู้บริหาร ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ และต้องไม่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือส่วนได้เสียในทางการเงินและการบริหารกิจการ อีกทั้งมีคุณสมบัติครบถ้วนตามนิยามกรรมการอิสระของบริษัท และตามหลักเกณฑ์ที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์กำหนด (หลักปฏิบัติ 3.1.1,3.1.2)


1. คณะกรรมการบริษัท  
 

​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​
 
​​​​​​​
​​​​​​​คณะกรรมการบริษัท  ประกอบด้วยกรรมการจำนวน 9 คน ซึ่งเป็นจำนวนที่เหมาะสมกับขนาด ประเภทของธุรกิจ แบ่งประเภทได้ดังนี้

กรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหาร 8 คน คิดเป็นร้อยละ 88.89 ของกรรมการทั้งคณะ

กรรมการที่เป็นผู้บริหาร 1 คน (กรรมการผู้จัดการ)

กรรมการที่มีคุณสมบัติเป็นกรรมการอิสระ 3 คนซึ่ง เป็นเพศหญิง 2 คน เป็นเพศชาย 1 คน  หรือมีจำนวนเท่ากับ 1ใน 3 คิดเป็นร้อยละ 33.33 ของกรรมการทั้งคณะ 

หน้าที่ความรับผิดชอบของประธานกรรมการ มีดังนี้ (หลักปฏิบัติ 3.2.3)

กำกับ ติดตาม และดูแลให้มั่นใจได้ว่า การปฏิบัติหน้าที่ของ คณะกรรมการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และบรรลุตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายหลักของบริษัทฯ
ดูแลให้มั่นใจว่า กรรมการทุกคนมีส่วนร่วมในการส่งเสริมให้เกิดวัฒนธรรมองค์กรที่มีจริยธรรม และการกำกับดูแลกิจการที่ดี
กำหนดวาระการประชุมคณะกรรมการโดยหารือร่วมกับกรรมการผู้จัดการและมีมาตรการที่ดูแลให้เรื่องสำคัญได้ถูกบรรจุเป็นวาระการประชุม
จัดสรรเวลาไว้อย่างเพียงพอที่ฝ่ายจัดการจะเสนอเรื่องและมากพอที่กรรมการจะอภิปรายประเด็นสำคัญกันอย่างรอบคอบโดยทั่วกัน การส่งเสริมให้กรรมการมีการใช้ดุลยพินิจที่รอบคอบ ให้ความเห็นได้อย่างอิสระ
เสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างกรรมการที่เป็นผู้บริหารและกรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหาร และระหว่างคณะกรรมการและฝ่ายจัดการ
หน้าที่ และความรับผิดชอบของคณะกรรมการ (หลักปฏิบัติ 1)

 ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ ความระมัดระวังและความซื่อสัตย์สุจริต รวมทั้งต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย วัตถุประสงค์ ข้อบังคับบริษัท ตลอดจนมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น เว้นแต่ในเรื่องที่ต้องได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นก่อนการดำเนินการ เช่น เรื่องที่กฎหมายกำหนดให้ต้องได้รับมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น การทำรายการที่เกี่ยวโยงกันและการซื้อขายสินทรัพย์ที่สำคัญตามกฎเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์ฯ หรือตามที่หน่วยงานราชการอื่น ๆ กำหนด เป็นต้น
กำหนดนโยบาย แผนงาน และกลยุทธ์ของบริษัท พิจารณาและให้ความเห็นชอบในเรื่องที่สำคัญเกี่ยวกับการดำเนินงานของบริษัท เช่น เป้าหมายทางการเงิน งบประมาณ รวมทั้งกำกับดูแลให้ฝ่ายจัดการดำเนินงานตามนโยบาย แผนงาน และ กลยุทธ์ที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
พิจารณาให้ความเห็นชอบการประเมินความเพียงพอของระบบการควบคุมภายในของบริษัทฯเป็นประจำทุกปี พร้อมจัดทำรายงานความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริษัทต่อรายงานทางการเงิน ซึ่งเปิดเผยไว้ในรายงานประจำปี และ แบบ56-1
 จัดให้มีช่องทางในการแจ้งเบาะแส ข้อร้องเรียน กระบวนดำเนินการเมื่อได้รับข้อร้องเรียน และมาตรการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแส  อยู่ที่หน้า 62-63 ของนโยบายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น
- สามารถดูเพิ่มเติมได้ที่แบบ56-1  โครงสร้างการจัดการ 

 

​2. คณะกรรมการตรวจสอบ

 1.นางนันทวัลย์         ศกุนตนาค               กรรมการอิสระ / ประธานกรรมการตรวจสอบ

 2.นายวันชัย     รัตนวงษ์               กรรมการอิสระ / กรรมการตรวจสอบ 

​​​​​​​ 3.นางศิริพร     เหลืองนวล               กรรมการอิสระ / กรรมการตรวจสอบ

 
คณะกรรมการตรวจสอบ ทุกคนเป็นกรรมการอิสระมีจำนวน 3 คน ได้รับการแต่งตั้งโดยคณะกรรมการบริษัท เพื่อช่วยงานของคณะกรรมการบริษัทในการสอดส่องดูแลคุณภาพและความน่าเชื่อถือของระบบบัญชี ระบบตรวจสอบ ระบบการควบคุมภายใน ตลอดจนกระบวนการรายงานทางการเงินของบริษัทฯ มีคุณสมบัติตามประกาศของคณะกรรมการกำกับตลาดทุน สำนักงานกลต.และตลาดหลักทรัพย์ฯ และมีหน้าที่ตามที่ตลาดหลักทรัพย์ฯกำหนด และได้ตราเป็นกฎบัตรไว้อย่างชัดเจน

กฎบัตรของคณะกรรมการตรวจสอบมีขอบเขต หน้าที่และความรับผิดชอบ ดังนี้ 

สอบทานให้บริษัทมีการรายงานทางการเงินอย่างถูกต้อง  เพียงพอ และเป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีที่รับรองทั่วไป

สอบทานให้บริษัทมีระบบการควบคุมภายใน (Internal Control) และระบบการตรวจสอบภายใน (Internal Audit) ที่เหมาะสมและมีประสิทธิผล และพิจารณาความเป็นอิสระของหน่วยงานตรวจสอบภายในตลอดจนให้ความเห็นชอบในการพิจารณาแต่งตั้ง โยกย้าย  เลิกจ้าง  ผู้จัดการสำนักตรวจสอบภายใน

สอบทานให้บริษัท ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท

พิจารณา คัดเลือก เสนอแต่งตั้งผู้สอบบัญชีรับอนุญาตที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งมีความเป็นอิสระเพื่อทำหน้าที่เป็นผู้สอบบัญชีของบริษัท และเสนอค่าตอบแทนของบุคคลดังกล่าว รวมทั้งเข้าร่วมประชุมกับผู้สอบบัญชีโดยไม่มีฝ่ายจัดการเข้าร่วมประชุมด้วยอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

- สามารถดูเพิ่มเติมได้ที่แบบ56-1  โครงสร้างการจัดการ 

 

3. คณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน

1.นายวันชัย      รัตนวงษ์           กรรมการอิสระ/ประธานกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน

2.นางศิริพร     เหลืองนวล         กรรมการอิสระ /กรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน

คณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน  คณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทนแต่งตั้งโดยคณะกรรมการบริษัท  ประกอบด้วยกรรมการอิสระ2 ท่าน คิดเป็นร้อยละ 77.78 เพื่อความโปร่งใสและเป็นอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ ประธานกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทนเป็นกรรมการอิสระ และเป็นคนละคนกับประธานกรรมการบริษัท

หน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน

กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการสรรหากรรมการบริษัท

มีหน้าที่สรรหาและคัดเลือกบุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กฎหมายกำหนด และสมควรได้รับการเสนอรายชื่อเป็นกรรมการใหม่ โดยมีคุณสมบัติเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องของทางการหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีในเรื่องโครงสร้างคณะกรรมการ เพื่อเสนอรายชื่อเข้าเป็นกรรมการ

พิจารณาแนวทางการกำหนดค่าตอบแทนให้แก่กรรมการ ซึ่งมีหลักการพิจารณาโดยคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ ได้แก่ ภาระหน้าที่ ขอบเขตความรับผิดชอบ และผลการปฏิบัติงานของกรรมการ ผลประกอบการและสถานะการเงินของบริษัทฯ สภาพความเป็นจริงของสภาวะเศรษฐกิจโดยรวม โดยจะพิจารณาเปรียบเทียบกับบริษัทจดทะเบียนที่มีขนาดธุรกิจและ/หรืออยู่ในอุตสาหกรรมที่ใกล้เคียงกัน

พิจารณากำหนดค่าตอบแทน และรูปแบบค่าตอบแทนกรรมการ โดยนำเสนอที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทพิจารณา

​- สามารถดูเพิ่มเติมได้ที่แบบ56-1  โครงสร้างการจัดการ 

ผู้บริหาร ผู้บริหารระดับสูงของบริษัทฯ ได้รับมอบหมายอำนาจหน้าที่ให้ดำเนินงานภายใต้นโยบาย กลยุทธ์ และเป้าหมายที่คณะกรรมการบริษัทกำหนด เพื่อความโปร่งใสและมีความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน  นอกจากนี้ ยังมีหน้าที่ควบคุมค่าใช้จ่ายและงบลงทุนตามขอบเขตที่คณะกรรมการบริษัทอนุมัติในแผนงานประจำปี ดำเนินการตามนโยบายด้านบุคคล แก้ไขปัญหาหรือความขัดแย้งที่มีผลกระทบต่อองค์กร และดำรงไว้ซึ่งการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

กรรมการหรือผู้บริหารระดับสูงของบริษัทไม่เคยเป็นพนักงานหรือหุ้นส่วนของบริษัทสอบบัญชีภายนอกที่บริษัทฯ ใช้บริการอยู่ในช่วง 2 ปี ที่ผ่านมา

​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​
               รายนามและตำแหน่งของกรรมการและผู้บริหาร มีดังนี้
                               ชื่อ-นามสกุล                                          ตำแหน่ง
               
1. นายณัฏฐพล     ยั่งยืน                             กรรมการผู้จัดการ​​​​​​​
               2.​​​​​​​ นายษิกเวช           โสภาพันธุ์                       ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ
               3. นายวิวัฒน์           จงกลรัตน์                      ผู้จัดการฝ่ายบัญชีและการเงิน
               4. นายวรรณพงค์   คณะเจริญ                           ผู้จัดการฝ่ายเบรดและเว้บบิ้ง
               ​​​​​​​5. นางสาววารุณี      ขำทอง                      ​​​​​​​   ผู้จัดการฝ่ายประกันคุณภาพ

​​​​​​​

เลขานุการบริษัท
​​​​​​​

   ​​​​​​​​​​​​​​
​​​​​​​นางชฎาพร เจียมสกุลทิพย์
เลขานุการ
หัวหน้างานกำกับดูแลการปฏิบัติงาน

    เลขานุการบริษัท มีหน้าที่ตามที่กฏหมายกำหนด ในมาตรา 89/15 และมาตรา 89/16 ของพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2551 ซึ่งมีผลใช้บังคับ
    ในวันที่ 31 สิงหาคม 2551 ด้วยความรับผิดชอบ ความระมัดระวัง และควมซื่อสัตย์สุจริต รวมทั้งต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามกฏหมาย วัตถุประสงค์ ข้อบังคับบริษัท มติคณะกรรมการ ตลอดจนมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น บริษัทฯได้แสดงข้อมูลเกี่ยวกับวุฒิการศึกษา ประสบการณ์ รวมทั้งหน้าที่และความรับผิดชอบอยู่ที่ประวัติเลขานุการ และหัวหน้างานกำกับดูแล การปฏิบัติงานของบริษัท
-สามารถดูเพิ่มเติมได้ที่ แบบ56-1 เอกสารแนบ1 ประวัติเลขานุการ